วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำแนะนำการนำเข้าแรงงานต่างด้าว


นายจ้าง / สถานประกอบการที่ต้องการนำเข้าแรงงานต่างด้าวให้ยื่นคำขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว
  
     โดยมีขั้นตอนดังนี้  
 ขั้นตอนที่ 1    นายจ้างแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (โควตา)  พร้อมยื่นหลักฐาน ข้อ 1.1 - 1.4
                     1.1  แบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว
                     1.2  สำเนาทะเบียน, สำเนาบัตรประชาชน และ/หรือหนังสือรับรองบริษัทกรณีเป็นนิติบุคคล
                     1.3  หนังสือชี้แจงความจำเป็นในการจ้างแรงงานต่างด้าวและเอกสารการขอโควตา  เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน,สัญญาจ้าง, สัญญาก่อสร้าง หรือหลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
                     1.4  หนังสือมอบอำนาจ  กรณีนายจ้างไม่มายื่นเอกสารด้วยตนเอง  พร้อมสำเนาบัตรประชาชนนายจ้าง (ติดอากรแสตมป์ 10 บาท)
      ขั้นตอนที่ 2    การยื่นคำร้องขอนำเข้าคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย
                     2.1  นายจ้าง/สถานประกอบการที่ได้รับโควต้าจ้างคนต่างด้าวให้ยื่นเอกสารหลักฐานต่อไปนี้ จำนวน4 ชุด  ณสำนักงานจัดหางานจังหวัด  (ขอแบบได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด)
                              (1)  คำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามบันทึกความเข้าใจ (MOU)
                              (2)  สำเนาหนังสืออนุญาตให้จ้างคนต่างด้าว  (โควตา)
                              (3)  หนังสือแสดงรายละเอียดความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว  (Demand Letter)
                              (4)  หนังสือแต่งตั้ง  (Power of Attorney)
                              (5)  สัญญาจ้างมาตรฐาน  (Employment Contract)
                              (6)  สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชน และ/หรือหนังสือรับรองบริษัทกรณีเป็นนิติบุคคล
                              (7)  หนังสือมอบอำนาจ กรณีนายจ้างไม่มายื่นด้วยตนเอง (ติดอากรแสตมป์ 10 บาท)
                              (8)  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
***  เอกสารตามข้อ 2.1  (1), (3), (4) และ (5)  ให้นายจ้างกรอกให้ครบถ้วนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ***
               นายจ้าง/สถานประกอบการสามารถนำเอกสารหลักฐานที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานจัดหางานจังหวัดไปดำเนินการเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการรับสมัครคัดเลือกคนต่างด้าวในประเทศต้นทาง เพื่อให้ได้รายชื่อคนต่างด้าวที่จะจ้างเร็วขึ้น
      ขั้นตอนที่ 3     การยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว
                     เมื่อนายจ้าง/สถานประกอบการ ได้รายชื่อคนต่างด้าว (Name List)  ที่จะจ้างซึ่งผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการจากกระทรวงแรงงานประเทศต้นทางแล้ว  ให้นำรายชื่อ (Name List) ตัวจริง และหนังสือชี้แจงช่องทางการนำเข้า  โดยระบุด่านพรมแดนที่คนต่างด้าวจะเดินทางผ่านมายื่น  พร้อมยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว (ตท.15)  ณ  สำนักงานจัดหางานจังหวัดที่เป็นสถานที่ทำงานของคนต่างด้าวตั้งอยู่ มีหลักฐานดังนี้
                           1.  บัญชีรายชื่อ (Name List) ตามที่ประเทศต้นทางออกให้และรับรองอย่างเป็นทางการจากกระทรวงแรงงานประเทศต้นทางแล้ว
                           2.  ยื่นคำขอ  ตท.15  พร้อมชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  100  บาทต่อคน
                           3.  รูปถ่ายของคนต่างด้าวขนาด 2.5x3 เซ็นติเมตร  จำนวน 2 รูป ซึ่งถ่ายไม่เกิน 6 เดือน และเขียนชื่อตัวบรรจงของคนต่างด้าวหลังรูปทุกรูป เพื่อป้องกันการสูญหาย (พร้อมใส่ซองมาให้เรียบร้อย)
                           4.  สำเนาหนังสือยืนยันการมีโควตา
                           5.  สัญญาจ้าง
                           6.  สำเนาหลักฐานการยื่นคำขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว  (ขั้นตอนที่ 2 )
                           7.  กรณีนายจ้างให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน ให้ยื่นหลังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ 10 บาท) พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
     ขั้นตอนที่ 4    การออกใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว
                        1.  นายจ้างนำผลการพิจารณานำคนต่างด้าวยื่นขอรับวีซ่าเข้าประเทศไทย  ณ  สถานฑูตหรือสถานกงสุลไทยที่ตั้งอยู่  ณ  ประเทศต้นทาง
                        2.  นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวตรวจสุขภาพ  (ณ  โรงพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด)
                        3.  นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวขอใบอนุญาตทำงานได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด  มีหลักฐาน ดังนี้
                              -  แบบคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงาน
                              -  หนังสือเดินทางฉบีบจริงพร้อมสำเนา  1  ชุด
                              -  หนังสือแจ้งผลการพิจารณาอนุญาตให้เข้ามาทำงานได้ของคนต่างด้าว
                              -  ใบรับรองแพทย์
                              -  ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตทำงานฉบับละ 1,800  บาท/คน/ปี

อนึ่ง  สำหรับการดูแลการใช้แรงงานต่างด้าว / การรายงานตามกำหนดเวลา / การแจ้งยกเลิกการทำงาน  เมื่อนายจ้าง/สถานประกอบการได้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานแล้ว ต้องปฏิบัติต่อคนต่างด้าวตามเงื่อนไขของกฏหมายที่เกี่ยวข้อง  เช่น  ต้องจัดทำประกันสังคมให้คนต่างด้าว  ต้องจ่ายค่าจ้างและ    สวัสดิการตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทย  เมื่อเลิกจ้างแรงงานต่างด้าวแล้วต้องแจ้งการเลิกจ้างต่อกรมการจัดหางาน  (ในเขตกรุงเทพมหานครให้ติดต่อที่สำนักงานเขต  ในต่างจังหวัดให้ติดต่อกับสำนักงานจัดหางานจังหวัด)  และต้องนำแรงงานต่างด้าวส่งกลับออกนอกประเทศด้วย